การป้องกันปัญหาน้ำท่วม คือสภาพที่มีน้ำนองขึ้นมาบนผิวดินเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความยากลำบากในการสัญจร การอยู่อาศัย หรือ ทำให้พื้นที่ไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติเมื่อเกิดน้ำท่วมขังขื้นในพื้นที่ก็แสดงว่าน้ำฝนไม่สามารถระบายออกจากพื้นที่ได้ทันท่วงที เราสามารถป้องกันการเกิดปัญหานี้ได้โดยการออกแบบสภาพทางกายภาพให้เอื้ออำนวยต่อการระบายน้ำดีออกจากพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทางภูมิสถาปัตยกรรมจะประเด็นหลักอยู่ 2 ประการคือ การวางระบบระบายน้ำผิวดิน และการขุดบ่อพักน้ำ
อุทกภัย น้ำท่วม
- เกิดจากฝนตกหนังต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน
- บางครั้งทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม อาจมีสาเหตุจากพายุ
- หมุนเขตร้อนลมมรสุมมีกำลังแรง ร่องความกดอากาศ
- ต่ำมีกำลังแรง อากาศแปรปรวน น้ำทะเลหนุน แผ่นดินไหว
- เขื่อนพัง ทำให้เกิดอุทกภัยได้เสมอ
อุทกภัยแยกออกเป็น
1. น้ำป่าหลาก เกิดจากฝนตกหนักบนภูเขา ต้นน้ำลำธารและไหลบ่าลงที่ราบอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีต้นไม้ ช่วยดูดซับ ชะลอกระแสน้ำ ความเร็วของน้ำ ของท่อนซุง และต้นไม้ ซี่งพัดมาตามกระแสน้ำจะทำลายต้นไม้ อาคาร ถนน สะพาน และชีวิตมนุษย์และสัตว์ได้
2. น้ำท่วมขัง น้ำเอ่อนอง เกิดจากน้ำล้นตลิง มีระดับสูงจากปกติท่วมแช่ขัง ทำให้การคมนาคมหยุดชะงัก เกิดโรคระบาดได้ ทำลายพืชผลเกษตรกร
3. คลื่นซัดฝั่ง เกิดจากพายุลมแรงซัดฝั่ง ทำให้น้ำท่วมบริเวณชายฝั่งทะเล บางครั้งมีคลื่นสูงถึง 10 เมตร ซัดเข้าฝั่งทำลายทรัพย์สินและชีวิตได้
การป้องกันและลดความเสียหายจากอุทกภัย
- ติดตามฟังข่าวอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา
- เมื่อกรมอุตุนิยมวิทยาเตือนให้อพยพ ควรรีบอพยพไปอยู่ในที่สูง อาคารที่มั่นคงแข็งแรง ทั้งคนและสัตว์เลี้ยง
- ถ้าอยู่ที่ราบให้ระมัดระวังน้ำป่าหลากจากภูเขาที่ราบสูงลงมา กระแสน้ำจะรวดเร็วมาก ควรสังเกตเมื่อมีฝนตกหนักติดต่อกันบนภูเขาหลายๆ วัน ให้เตรียมตัวอพยพขนของไว้ที่สูง
- ถ้าอยู่ริมน้ำให้เอาเรือหลบเข้าฝั่งไว้ในที่จะใช้งานได้ เมื่อเกิดน้ำท่วม เพื่อการคมนาคม
- ควรมีการวางแผนอพยพว่าจะไปอยู่ที่ใด พบกันที่ไหน อย่างไร
- เมื่อมีกระแสน้ำหลาก จะทำลายวัสดุก่อสร้าง เส้นทางคมนาคม ต้นไม้ พืชไร่ได้ ให้ระวังกระแสน้ำพัดพาไป
- อย่าขับรถยนต์ฝ่าลงไปในกระแสน้ำหลาก แม้บนถนนก็ตาม
- อย่าลงเล่นน้ำ อาจพบอุบัติภัยอื่นๆ อีกได้
- หลังจากน้ำท่วมจะมีขัง จะเกิดโรคระบาดในระบบทางเดินอาหารทั้งคนและสัตว์ ให้ระวังน้ำบริโภค ควรสะอาด ต้มสุกเสียก่อน